ประวัติ

ทำความรู้จักกับธนาคารกรุงเทพ






            ธนาคารกรุงเทพได้รับการก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2487 และเจริญเติบโตจนเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

         




            ความคิดที่จะก่อตั้งธนาคารของคนไทยอย่างแท้จริง เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นรัฐชาติในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2483-2492 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารต่างชาติมีอิทธิพลเหนือภาคการเงินของไทย ขณะนั้นนักธุรกิจไทยประสบปัญหาด้านแหล่งเงินทุนและการสนับสนุนจากธนาคารต่างชาติ ในภาวะที่คนไทยต้องการแรงสนับสนุนจากบริการธนาคารเช่นนี้ธนาคารกรุงเทพจึงถือกำเนิดขึ้นในปีพ.ศ. 2487 และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบธุรกิจในประเทศ จนธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ธนาคารไม่ได้หยุดอยู่เพียงให้บริการแก่คนกลุ่มเล็ก ๆ แต่ยังได้ขยายการให้บริการในรูปแบบใหม่ๆ มากมาย จนก้าวขึ้นเป็นธนาคารที่มีบทบาทเด่นในประเทศไทย และเป็นธนาคารที่มีลูกค้าอย่างกว้างขวางจากทุกวงการ โดยเฉพาะบริษัทธุรกิจชั้นนำของประเทศ
            กุญแจสำคัญที่ทำให้ธนาคารกรุงเทพประสบความสำเร็จมาตลอด ได้แก่ การริเริ่มนวัตกรรมต่าง ๆ และการคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ธนาคารมีเจตจำนงที่จะขยายและพัฒนาบริการอยู่เสมอ ไม่ว่าในยามที่เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาการเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หรือในยามที่บ้านเมืองประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและ การเมืองต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลครั้งแล้วครั้งเล่า หรือแม้กระทั่งเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคในปีพ.ศ. 2540

            และเป็นหนึ่งในธนาคารระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมูลค่าของสินทรัพย์รวมประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท โดยเป็นผู้นำในการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี อีกทั้งยังมีฐานลูกค้ากว้างขวางที่สุดในตลาดลูกค้าบุคคล ด้วยธนาคารกรุงเทพให้บริการแก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจเป็นจำนวนรวมกว่า 17 ล้านบัญชีผ่านสำนักธุรกิจและสำนักธุรกิจย่อยกว่า 230 แห่ง และสาขาทั่วประเทศเกือบ 1,000 แห่ง และยังมีเครือข่ายธนาคารอัตโนมัติที่หลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเอทีเอ็มและเครื่องรับฝากเงินสดอยู่ทั่วประเทศ บริการธนาคารทางโทรศัพท์และธนาคารทางอินเทอร์เน็ตที่ใช้ง่ายและลูกค้าสามารถเลือกทำธุรกรรมในภาษาไทยหรืออังกฤษ ซึ่งเอื้ออำนวยให้ลูกค้าสามารถจัดการเรื่องการเงินได้อย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง

ถือกำเนิดในท่ามกลางสงคราม
                    ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาคธุรกิจการเงินของไทยอยู่ในมือของธนาคารต่างชาติเกือบทั้งหมด แต่เมื่อสงครามเริ่มขึ้น สถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป รัฐบาลจำต้องเข้าร่วมสงครามในฐานะพันธมิตรกับญี่ปุ่น ธุรกิจและธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของชนชาติยุโรปหรือฝ่ายสัมพันธมิตรจึงถูกควบคุมและปิดกิจการในทันที
                    สภาพการณ์เช่นนี้ ได้เปิดโอกาสให้คนไทยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการ นักธุรกิจ และกลุ่มบุคคลผู้มีแนวคิดตรงกัน มาร่วมมือกันก่อตั้งธนาคารของคนไทยที่มีความพร้อมในการให้บริการทางการเงินแก่คนไทยอย่างเต็มรูปแบบขึ้น ธนาคารกรุงเทพได้จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ 2487
First Branch                    ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เริ่มดำเนินธุรกิจเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารพาณิชย์สองคูหาในย่านราชวงศ์ ใจกลางกรุงเทพฯ ในขณะนั้น มีพนักงานทั้งสิ้น 23 คน และมีหลวงรอบรู้กิจเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ท่านแรก ท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างฐานลูกค้าของธนาคารด้วยการให้บริการตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ธนาคารกรุงเทพในยุคต้น มีบทบาทอย่างมากในการสนับสนุนการผลิตและการค้าของคนไทยเพื่อฟื้นฟูประเทศภายหลังสงครามอย่างเต็มความสามารถ







บทบาทแรกก่อตั้ง : ร่วมสร้างชาติ

Mr. Chin Sophonpanich
         ระหว่างพ.ศ. 2495 ถึง 2520 นายชิน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพท่านที่สองได้พัฒนางานธนาคารให้ก้าวไกล และมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ

         นายชินเป็นผู้วางทิศทางให้ธนาคารขยายเครือข่ายสาขาไปสู่ท้องที่ห่างไกลทั่วประเทศ ซึ่งมีผลิตผลทางการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่วมสนับสนุนอุตสาหกรรมการส่งออก ซึ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงนี้เอง ธนาคารกรุงเทพ ได้ก้าวขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยที่ให้บริการด้านการเงินครบวงจร รวมทั้งการออก "เลตเตอร์ออฟเครดิต" แก่ธุรกิจส่งออกและนำเข้า
 
 
ยุคก้าวสู่ระดับนานาชาติ

First Overseas Branch
            เมื่อสร้างรากฐานในประเทศไทยอย่างมั่นคงดีแล้ว ธนาคารกรุงเทพจึงให้ความสำคัญต่อการสร้างฐานในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ 2497 ธนาคารได้เปิดสาขาต่างประเทศเป็นแห่งแรกที่ฮ่องกง และในปีถัดมา เปิดสาขาที่สองขึ้นที่โตเกียว หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้เปิดอีกสาขาที่สิงคโปร์ ทำให้ธนาคารสามารถให้บริการทางธุรกิจอย่างครบวงจร เนื่องจากประเทศไทยทำธุรกิจการค้ากับประเทศทั้งสามนี้อยู่เป็นจำนวนมาก






ยุคปฏิรูปและสร้างความปึกแผ่น

Mr. Boonchu Rojanasatien            นายบุญชู โรจนเสถียร ได้ก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ท่านที่สามเมื่อพ.ศ. 2520 และได้ลาออกเพื่อเข้าสู่งานการเมืองในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในพ.ศ. 2523 ในช่วงเวลาดังกล่าว แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังชะลอตัวจากปัญหาเศรษฐกิจโลก แต่ก็แทบจะไม่มีผลต่อการเติบโตก้าวหน้าของธนาคาร นายบุญชูได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปการทำงานครั้งใหญ่ เพื่อให้ธนาคารมีความทันสมัยมีมาตรฐานทัดเทียมกับต่างประเทศ รวมทั้งนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและพนักงานของธนาคารอย่างต่อเนื่อง





ยุคทองแห่งการเติบโตที่ก้าวกระโดด

Mr. Chatri Sophonpanich               นายชาตรี โสภณพนิช เข้ารับหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพท่านต่อมา ตั้งแต่พ.ศ. 2523 ถึง 2535 และได้นำธนาคารก้าวเข้าสู่ 'ยุคทอง' อย่างแท้จริง โดยในระหว่างช่วงเวลา 12 ปีที่ท่านนำการบริหารธนาคารอยู่นั้น ผลประกอบการของธนาคารมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 12 เท่า และนับเป็นครั้งแรกที่ธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถทำกำไรสุทธิต่อปีได้มากกว่า 10,000 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น และติดอันดับธนาคารชั้นนำ 200 แห่งของโลก







ยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงและดาวจรัสแสงดวงใหม่

Dr. Vichit Suraphongchai
             ดร.วิชิต สุรพงศ์ชัย ได้ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพในพ.ศ. 2535 ในฐานะผู้บริหารที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในความรู้ความสามารถที่สูงเด่น เป็น'ดาวจรัสแสงดวงใหม่' ของวงการธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งในช่วงนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของธนาคารพาณิชย์ไทยถึง 5 ธนาคารในเวลาใกล้เคียงกัน ดร. วิชิตมีผลงานสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อธนาคารกรุงเทพหลายประการ โดยเฉพาะผลงานทางด้านกิจการธนาคารต่างประเทศ ดร.วิชิตลาออกจากธนาคารในปีพ.ศ. 2537





Mr. Chartsiri Sophonpanich ยุคแห่งวิกฤตการณ์และการเปลี่ยนแปลง

              นายชาติศิริ โสภณพนิช ผู้บริหารหนุ่มบุตรชายคนโตของนายชาตรี โสภณพนิช คือบุคคลที่ได้รับเลือกสรรให้เป็นผู้นำในการสืบทอดเจตนารมณ์ของธนาคารสู่ทศวรรษใหม่ของการประกอบการในปี 2537

               ในชั่วเวลาเพียง 3 ปี หลังจากที่นายชาติศิริ ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ความเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่เจริญรุ่งเรืองติดต่อกันมาอย่างยาวนานถึง 30 ปี ก็ได้อวสานลง ด้วยวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วทวีปเอเชียในปีพ.ศ. 2540 ซึ่งเริ่มต้นจากค่าเงินบาทตกต่ำลงอย่างมาก หลังจากที่ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบลอยตัว สถาบันการเงินทั่วเอเชียประสบปัญหาอันหนักหน่วง จนประสบภาวะล้มละลายไปหลายแห่ง สถาบันการเงินที่ยังเหลืออยู่ก็ต้องเผชิญกับปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพราะลูกค้าสำคัญจำนวนกว่าครึ่งค่อนของธนาคาร พากันประสบปัญหาทางการเงิน ยุคแห่งการขยายตัวและการเติบโตกลายเป็นยุคแห่งความยากลำบากในการทำธุรกิจ และเศรษฐกิจถดถอย ท่ามกลางภาวะแห่งอุปสรรคอันหนักหน่วงเช่นนี้ นายชาติศิริกลับมุ่งมั่นเปลี่ยน 'วิกฤต' เป็น 'โอกาส' ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ขึ้นหลายประการ เพื่อเสริมสร้างรากฐานทางการเงินของธนาคารให้แข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง และเพื่อให้ธนาคารสามารถธำรงรักษาความเป็นผู้นำในการให้บริการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ไว้
 
มุ่งสู่สหัสวรรษใหม่

              จากจุดเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีพ.ศ. 2487 ปัจจุบันธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีสินทรัพย์รวมกว่า 1,725,000 ล้านบาท และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หลายระบบที่ธนาคารกรุงเทพใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นระบบที่ก้าวหน้าที่สุดในภูมิภาค
               ธนาคารยังขยายเครือข่ายให้เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีสาขาทั่วประเทศเกือบ 1,000 สาขา และมีเครื่องเอทีเอ็มและเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติให้บริการอยู่ทุกแห่งหนทั่วประเทศ ธนาคารมีเครือข่ายสาขาต่างประเทศทั้งหมด 25 สาขา และบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้นทั้งหมด 2 บริษัทและสำนักงานตัวแทนอีก 1 แห่ง ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงศูนย์กลางธุรกิจของโลก เช่น โตเกียว ลอนดอน และนิวยอร์ก

               นอกจากนี้ ธนาคารกรุงเทพยังเป็นธนาคารไทยเพียงแห่งเดียวที่มีเครือข่ายต่างประเทศกว้างขวางที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน ซึ่งธนาคารมีสาขาอยู่ทั้งที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซี่ยะเหมิน และเสิ่นเจิ้น

            เครือข่ายสาขาในต่างประเทศของธนาคารกรุงเทพครอบคลุม 13 เขตเศรษฐกิจสำคัญของโลก ได้แก่ จีน ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว และพม่า ซึ่งประกอบด้วยสาขาต่างประเทศ 25 แห่ง สำนักงานตัวแทน 1 แห่ง และธนาคารในเครือที่ธนาคารกรุงเทพ ถือหุ้นทั้งหมด 2 แห่ง คือ Bangkok Bank Berhad (BBB) ในประเทศมาเลเซีย และ Bangkok Bank (China) Company Limited (BBC) ในประเทศจีน

ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการอย่างครบวงจร ซึ่งประกอบด้วย
  • การจัดการสินเชื่อร่วม
  • การรับประกันการจัดจำหน่ายตราสารทุน
  • สินเชื่อเพื่อการค้าระหว่างประเทศ
  • สินเชื่อโครงการ
  • บริการรับฝาก
  • หลักทรัพย์
  • สินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอี
  • บริการการเงินธนกิจ
  • บริการให้คำแนะนำทางธุรกิจ

มุ่งมั่นสู่อนาคต

               ปัจจัยสำคัญที่เสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันของธนาคารกรุงเทพประกอบด้วยฐานลูกค้าซึ่งกว้างขวางที่สุดในประเทศ สายสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้า และเครือข่ายสาขาต่างประเทศที่กว้างขวางที่สุดในบรรดาธนาคารไทย

              ในช่วงหนึ่งปีข้างหน้านี้ ธนาคารกรุงเทพจะยังคงพัฒนาปัจจัยความเข้มแข็งเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเสริมสร้างประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินธุรกิจและคุณภาพของการบริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

              พร้อมกันนี้ ธนาคารยังเตรียมขยายฐานธุรกิจสู่ระดับภูมิภาคและให้บริการระดับสากลเพื่อสนับสนุนบริษัทไทยให้สามารถขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ เช่นเดียวกับการสนับสนุนลูกค้าชาวต่างชาติให้สามารถมาลงทุนในประเทศไทย ส่วนในประเทศไทย ธนาคารจะพัฒนาขยายผลการประสานศักยภาพระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ ของธนาคาร รวมถึงบริษัทในเครือเพื่อเพิ่มความหลากหลายในบริการที่มอบให้แก่ลูกค้าและเสริมสร้างความมั่นคงของฐานรายได้จากค่าธรรมเนียม

             ในขณะเดียวกัน ธนาคารกรุงเทพได้กำหนดแนวทางสำหรับการบริหารความเสี่ยงในแต่ละสายธุรกิจ เพื่อให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ การนำหลักเกณฑ์ของ Basel II และ IAS/IFRS มาปฏิบัติยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนกระบวนการบริหารความเสี่ยงของธนาคารให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร
 

โลโก้และคำขวัญ



เมื่อต้องสร้าง brand ให้เป็นที่จดจำกับลูกค้าในระดับ mass การเลือกใช้สัญลักษณ์ สีและ โลโก้เป็นเรื่องที่แบงก์หันมาให้ความสำคัญ โดย สี และสัญลักษณ์ของโลโก้ที่แต่ละแบงก์นำมาใช้ ล้วนแต่มีที่มา และความหมายที่บ่งบอกถึง
 
  

สี : น้ำเงิน
โลโก้ : ดอกบัวหลวง 
สัญลักษณ์ สี และคำขวัญ ใช้ยาวนานกว่า 23 ปี สีน้ำเงิน เคร่งขรึม ที่ออกแบบมาคู่รูปทรงดอกบัวหลวง ซึ่งเป็นบัวพฤษชาติที่เจริญงอกงามเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม แพร่พันธุ์ง่าย ดังนั้นสัญลักษณ์ดอกบัว หมายถึงธนาคารคนไทย ส่วนคำขวัญ เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน หมายถึง ธนาคารพร้อมที่จะให้บริการและให้คำแนะนำแก่ลูกค้าอย่างเสมอภาค และขยายบริการให้กว้างขวางออกไป เพื่อรับใช้มวลชนและสังคมอย่างใกล้ชิด
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)


 

คณะผู้บริหาร


 
ประธานกรรมการธนาคาร
 
 

      

 

โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์                                             นายชาติศิริ โสภณพนิช
ประธานกรรมการบริหาร                                 กรรมการผู้จัดการใหญ่


บริษัทในเครือและการลงทุน


บริษัท ธนาคารกรุงเทพ (ประเทศจีน) จำกัด

บริษัท ธนาคารกรุงเทพ (ประเทศจีน) จำกัด ซึ่งธนาคารกรุงเทพเป็น
ผู้ถือหุ้นเต็ม 100% เริ่มเปิดดำเนินการในวันที่ 28 ธันวาคม 2552 โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เซี่ยงไฮ้และมีสาขาตั้งอยู่ในเมืองหลักๆ ของประเทศจีน สามารถให้บริการผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีความหลากหลายรวมทั้งการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับเงินสกุล Renminbi (RMB) ซึ่งเป็นสกุลเงิน
ท้องถิ่นของจีนด้วย

Bangkok Bank Building, M/F 2/F-5/F, No. 7, Zhongshan East-1 Road, Shanghai 200002, The People’s Republic of China
โทรศัพท์: (86-21) 2329-0100
โทรสาร: (86-21) 2329-0101
SWIFT: BKKBCNSH
เว็บไซต์: http://www.bangkokbank.com.cn/


บางกอก แบงค์ เบอร์ฮาด

บางกอก แบงค์ เบอร์ฮาด เป็นบริษัทในเครือของธนาคารกรุงเทพ โดยมีสำนักงานอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และให้บริการธนาคารพาณิชย์ที่
หลากหลายแก่ลูกค้าในประเทศทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ ธนาคารมีบริการเพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า อาทิเช่น บริการบัญชีเงินฝาก บริการเพื่อธุรกิจส่งออกและนำเข้า สินเชื่อธุรกิจ บริการโอนเงินระหว่างประเทศ บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ฯลฯ

105, Jalan Tun H.S. Lee, 50000 Kuala Lumpur
โทรศัพท์: 603-2173-7200
โทรสาร: 603-2173-7300
SWIFT: BKKB MY KL
เว็บไซต์: http://www.bangkokbank.com.my


 บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ให้คำแนะนำการลงทุน การจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริการทำวิจัยและวิเคราะห์ตามที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้า

ชั้น 29 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ 191 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์: (66) 0-2231-3777, (66) 0-2632-0777
โทรสาร: (66) 0-2231-3797, (66) 0-2231-3951
เว็บไซต์: http://www.bualuang.co.th


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด ทำหน้าที่บริหารและจัดการกองทุน

ห้อง 2601 ชั้น 26 อาคารสาธรซิตี้ ถนนสาทรใต้ ทุ่งมหาเมฆ สาทร กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท์: (66) 0-2679-6400
โทรสาร: (66) 0-2679-5995-6
เว็บไซต์: http://www.bblam.co.th


บริษัท บริหารสินทรัพย์ทวี จำกัด

บริษัท บริหารสินทรัพย์ทวี จำกัด ดำเนินธุรกิจบริหารจัดการอสังหา-
ริมทรัพย์และจำหน่ายทรัพย์สินที่รับโอนจากธนาคารกรุงเทพ

323 อาคารยูไนเต็ดเซ็นเตอร์ ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์: (66) 0-2635-5001-3
โทรสาร: (66) 0-2635-5004
เว็บไซต์: http://www.stamc.com


http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/AboutBangkokBank/AboutUs/CorporateProfile/BBLToday/Pages/BangkokBankSubsidiaries.aspx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น