วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

รายงานพิเศษ "แบงก์ไทย" เนื้อหอม สะกดใจต่างชาติเข้าฮุบกิจการ



ธนาคารพาณิชย์ปรับมือรับ "มิตซูบิชิ" ซื้อ กรุงศรี

"แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ"รุกอาเซียน ทุ่ม รวม 2.96 แสนล้าน ซื้อหุ้นแบงก์กรุงศรี ที่ราคาหุ้นละ 39 บาท ทำเทนเดอร์ฯเดือนพ.ย.-ธ.ค.56


แบงก์มิตซูบิชิ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา


























ความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ข้อยุติ หลังเป็นข่าวในตลาดหลักทรัพย์มานานหลายเดือน โดย "แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ลิมิเต็ด" ได้ประกาศว่า ได้ลงนามซื้อหุ้นธนาคารจาก "จีอี แคปปิตอล" ที่ถืออยู่ 25.33% แล้ววานนี้ (2 ก.ค.)



             นายโนบูยูกิ ฮิราโน ประธานแบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ลิมิเต็ด ในเครือของ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป หรือ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ประกาศวานนี้ (2 ก.ค.) ว่า แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ได้ลงนามในข้อตกเสนอซื้อหุ้น (Share Tender Agreement : STA) กับ จีอี แคปปิตอล อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น หรือ จีอี แคปปิตอล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการถือหุ้นของ จีอี แคปปิตอล ในธนาคารกรุงศรีอยุธยา


              ทั้งนี้ จากความเห็นชอบได้รับการอนุมัติดำเนินการตามกฎระเบียบ การอนุมัติของบริษัทและเงื่อนไขแน่นอน แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จะทำคำเสนอซื้อหุ้นธนาคารกรุงศรีฯ ที่ราคา 39 บาทต่อหุ้น อย่างสมัครใจ (Voluntary Tender Offer : VTO) โดยมีเป้าหมายให้ได้หุ้นส่วนใหญ่ราว 75% ของ ธนาคารกรุงศรีฯ ซึ่ง จีอี แคปปิตอล จะเข้ามีส่วนร่วมการทำเทนเดอร์ครั้งนี้ สำหรับหุ้นทั้งหมดที่ จีอี แคปปิตอล ถืออยู่ 1,538,365,000 ล้านหุ้น หรือประมาณ 25.33% ของหุ้นทั้งหมด

             หลังจากประสบความสำเร็จจากการทำคำเสนอซื้อหุ้นโดยสมัครใจ แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จะเข้านั่งบริหารแทน จีอี แคปปิตอล ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารกรุงศรีฯ และในฐานะพันธมิตรของตระกูลรัตนรักษ์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมที่ยังถือหุ้นส่วนใหญ่ในธนาคารกรุงศรีฯ และจะเข้ามาอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาขั้นต่อไปของธนาคาร

             แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ และ ธนาคารกรุงศรีฯ จะหารือถึงความร่วมมือกันในอนาคตในหลายส่วน เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพในฐานะพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น สถาบันการเงินทั้งสองแห่งจะหารือถึงศักยภาพการรวม แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ สาขากรุงเทพฯ กับ ธนาคารกรุงศรีฯ และเมื่อได้รับความเห็นชอบร่วมกัน การรวมตัวกันจะเกิดหลังจากการทำเสนอซื้อเสร็จสมบูรณ์แล้ว

เผยเป็นแผนรุกเอเชีย

               ในเอกสารของ แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ระบุว่า เป้าหมายของการทำธุรกรรมครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ออกแบบมาเพื่อพัฒนาธุรกิจของธนาคารในเอเชีย การลงทุนในธนาคารกรุงศรีฯ มีเป้าหมายเพื่อการวางโครงสร้าง เป็นธนาคารเพื่อการพาณิชย์อย่างเต็มตัว แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ในเอเชีย หากการรวมกันเสร็จสมบูรณ์ ทั้ง แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ และ ธนาคารกรุงศรีฯ จะให้บริการการเงินครอบคลุมแก่ลูกค้าท้องถิ่นและลูกค้าบริษัทข้ามชาติที่มีความหลากหลาย

               รายงานข่าวให้ข้อมูลว่า ด้วยศักยภาพการเติบโตในอนาคต และประวัติการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของลุ่มแม่น้ำโขง ขณะที่ไทยกับญี่ปุ่นต่างพอใจในความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างประเทศ ทำให้บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากมายเข้าไปดำเนินธุรกิจในไทยขณะนี้

               ขณะที่ ธนาคารกรุงศรีฯ ถือเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของไทย ให้บริการการเงินหลากหลาย ด้วยฐานลูกค้ากว้างพร้อมความรู้เชี่ยวชาญในตลาดและนับตั้งแต่แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ เข้ามาเปิดสาขาในกรุงเทพฯ ทางธนาคารให้การสนับสนุนกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ในไทยมานานกว่า 50 ปี ดังนั้นการลงทุนในธนาคารกรุงศรีฯ ช่วยให้ แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ สามารถนำเสนอบริการการเงินในไทยที่ยิ่งแข็งแกร่งได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถสนองความต้องการทางการเงินหลากหลายของลูกค้าและสอดคล้องกับพัฒนาการเศรษฐกิจไทย

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20130703/514883/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%AF%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A13%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AF.html


ด้านธนาคารกสิกรไทยเตรียมความพร้อมรับมือ..


Pic_355319 

ธนาคารกสิกรไทย


http://www.thairath.co.th/content/eco/355319


"ธนาคารพาณิชย์ไทย" ไม่พร้อมรับการแข่งขันเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปล่อยแบงก์ต่างชาติรุกตลาดไทย

ด้านกรุงไทย-ไทยพาณิชย์เน้นรักษาฐานที่มั่นตลาดภายในประเทศ มองแค่ตลาดเพื่อนบ้าน ขณะที่ 2 แบงก์ใหญ่กรุงเทพ-กสิกรฮึดสู้ลุยเปิดสาขาในอาเซียนพร้อมสร้างพันธมิตรต่างชาติหวังเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจเอสเอ็มอีไทยลุยนอก  

           ไล่ประชิดเข้ามาทุกทีสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี 2558 ถามถึงความพร้อมของธนาคารพาณิชย์กับเวลา 3 ปีข้างหน้าแล้ว มีธนาคารเพียง 2 แห่ง จาก 11 แห่งของแบงก์สัญชาติไทยที่มองเห็นโอกาสจากเออีซี ขณะที่เพื่อนบ้านเริ่มสยายปีกการลงทุนเข้ามาในประเทศแล้ว
ซีไอเอ็มบีกรุ๊ปเป็นหนึ่งตัวอย่างของการแผ่ศักยภาพเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดในประเทศไทย แม้จะยังไม่ยิ่งใหญ่ในตลาดไทยนัก แต่ก็เริ่มเห็นธุรกิจงอกเงยเป็นรูปเป็นร่างบ้างแล้ว โดยเฉพาะงานวาณิชธนกิจหลายๆ ดีล ที่ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งที่เป็นลูกค้าในและต่างประเทศ อาศัยความเชี่ยวชาญ เครือข่ายและฐานที่มีภายกลุ่ม ที่ส่งต่อ ระหว่างกันได้ ขณะที่ทางกลุ่มไอซีบีซี ซึ่งเป็นธนาคารจากประเทศจีน ยังเข้ามาลงทุนในประเทศไทยและวางยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน

               วิธีการไล่ซื้อกิจการที่ธนาคารต่างประเทศ ใช้ในการเข้ามาขยายธุรกิจในประเทศไทย อาจจะไม่ใช่แนวทางที่ธนาคารพาณิชย์ไทย เห็นว่าเหมาะสมในการออกไปขยายฐานต่างประเทศ ด้วยความระมัดระวังที่มีอยู่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นธนาคารที่ออกไปแล้วหรือธนาคารที่ยังไม่ออกไปลงทุน ต่างก็ไม่สนใจแนวคิดดังกล่าว ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการขยายธุรกิจตามฐานลูกค้าเป็นหลัก โดยจะขอเลือกเฉพาะพื้นที่ที่ธนาคารมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน

รับธนาคารไทยปรับตัวช้า
            นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ยอมรับว่า การออกไปรุกตลาดในอาเซียนของสถาบันการเงินไทย ยังช้าเมื่อเทียบกับธนาคารบางแห่งในภูมิภาค ทั้งที่ในอดีตเมื่อ 10 ปีก่อน ธนาคารซีไอเอ็มบี มีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของธนาคารกรุงเทพแต่ในขณะนี้กลับมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า ด้วยนโยบายของธนาคารกลางของมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่มีแผนแม่บทที่ชัดเจนในการสนับสนุน ให้เกิดการควบรวมกิจการ เพื่อออกไปรุกธุรกิจต่างประเทศ 

            สอดคล้องกับธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มองว่าพม่าเป็นตลาดใหม่อีกแห่งของภูมิภาคนี้ ยังมีความสดใหม่ มีแหล่งทรัพยากรที่ล้วนมีโอกาสทางธุรกิจที่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดล้วนต้องจับตา ที่ผ่านมาแม้ธนาคารไทยพาณิชย์จะยังไม่มีสำนักงานตัวแทนในพม่า แต่บทบาทในการสนับสนุนลูกค้าในพม่ามีความชัดเจนผ่านการสนับสนุนลูกค้าโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจสำคัญในอนาคต 


          การรักษาฐานที่มั่นสำคัญ เป็นกลยุทธ์รับมือการแข่งขันที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศ โดยยังเชื่อว่า ตลาดไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมากในอนาคต แต่ยอมรับว่าเออีซีจะทำให้การแข่งขันมีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น การเตรียมรับมือในประเทศ คือ การเร่งมองหาจุดอ่อนของตัวเอง หรือโอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปใช้บริการของธนาคารต่างชาติมีอะไรบ้าง ก่อนจะเข้าไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อปิดโอกาสเหล่านั้น ซึ่งการปรับตัวเพื่อปิดจุดอ่อน สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่เข้ามา และเชื่อว่าตลาดปราบเซียนแห่งนี้จะสร้างความกังวลให้ธนาคารต่างชาติมากกว่า 


         นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จึงมองว่าโอกาสจะเปลี่ยนขั้วมาทางฝั่งเอเชียที่ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี และมีโอกาสที่จะเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรวมตัวของเออีซีจะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เห็นได้จากการค้าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นและเริ่มมีบริษัทในประเทศให้ความสนใจกับภูมิภาคมากขึ้นแล้ว เช่นประเทศอินโดนีเซีย ที่ถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ด้วยประชากรกว่า 240 ล้านคน ซึ่งธนาคารกรุงเทพมีแผนที่จะเข้าเปิดสาขาเพิ่มที่สุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย ในช่วงต้นปี 2555 นี้ ทั้งนี้ในปัจจุบันธนาคารกรุงเทพมีสาขาต่างประเทศอยู่ 24 สาขาใน 12 ประเทศทั่วโลก 


        ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย นั้น จะใช้รูปแบบของการสร้างโครงข่ายพันธมิตรธนาคารในภูมิภาค หรือ Asian Alliances แทนการรุกเปิดสาขาที่จะต้องใช้ทรัพยากรทั้งเงินทุน คน และเวลาที่คงจะไม่ทันต่อเงื่อนเวลาที่เหลืออยู่


     ขณะที่แผนแม่บทของไทยยังคงมุ่งเน้นการสร้างเสถียรภาพสถาบันการเงิน ซึ่งหากต้องการให้สถาบันการเงินไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศจริงควรมีแผนที่ชัดเจนและสร้างสมดุลระหว่างการควบคุมความเสี่ยงและการเติบโตในภูมิภาค

    อย่างไรก็ตาม นายอภิศักดิ์ ระบุว่ายุทธศาสตร์การรับรองรับเออีซีของธนาคารกรุงไทย จะเน้นประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศที่พัฒนายังไม่เท่าประเทศไทยเป็นหลัก เนื่องจากไทยยังมีความได้เปรียบและเชี่ยวชาญกว่า โดยพม่าถือเป็นประเทศที่ยังมีโอกาสอีกมากในอนาคต

ไทยพาณิชย์รับไม่แข็งแกร่งพอ

           นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การที่ธนาคารขยับตัวรับเออีซีช้ากว่าธนาคารแห่งอื่นนั้น เนื่องจากยังไม่เห็นจุดที่ธนาคารมีความได้เปรียบ ประกอบกับยังเข็ดจากการปิดสาขาต่างประเทศในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา และหากมองในระยะยาวก็ยังเป็นคำถามอยู่ว่าจะเปิดสาขาเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะการให้บริการลูกค้าในยุคนี้สามารถทำได้จากประเทศไทย

"หากเปิดเพื่อบริการธุรกิจคนไทย สมัยนี้คงไม่จำเป็น แต่หากเปิดสาขาเพื่อเอาส่วนแบ่งในตลาดท้องถิ่น เราไม่คิดว่าเราแกร่งพอหรือมีทุนพอการเปิดสาขาในจีน หรืออินโดนีเซีย ที่มีประชากร 200 ล้านคน ต้องไปซื้อเค้า ต้องใช้ทุนเยอะ จุดหมายเราชัดเจน คือ ต้องการบริการลูกค้า เราก็ไม่จำเป็นต้องมีสาขา ขืนไป เราก็บริการห่วยกว่าที่เค้าจะใช้แบงก์ท้องถิ่น"

เน้นรักษาฐานตลาดในประเทศ

        ส่วนการเปิดสาขาต่างประเทศ โฟกัสพื้นรอบประเทศไทยเป็นหลัก ลาว เวียดนาม กัมพูชา ซึ่งมีธุรกิจทั้งที่เป็นสาขาและการร่วมลงทุน เหลือเพียงพม่าที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อตั้งสำนักงานตัวแทน(Representative Office) และเปิดเป็นสาขาในอนาคต

      เงื่อนเวลาที่ถอยร่นลงไปทุกที ยังมีธนาคารพาณิชย์ไทยเพียง 2 แห่งที่มีโมเดลที่ชัดเจนคือธนาคารกรุงเทพที่มีประวัติศาสตร์การทำธุรกิจต่างประเทศมายาวนานและธนาคารกสิกรไทยที่คิดค้นโมเดลธุรกิจเพื่อรองรับการแข่งขันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

     ธนาคารกรุงเทพยังมองถึงโอกาสจากการหลอมรวมกำลังทางเศรษฐกิจในอาเซียนและเอเชียที่จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีผลต่อปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-อาเซียน และไทย-เอเชียจนปักธงให้ AEC เป็นวาระสำคัญที่มีผลต่อการทำธุรกิจในระยะ 5 ปีข้างหน้าอีกด้วย สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกในปี 2555 ที่มีความผันผวนมากขึ้นจากปัญหาในสหรัฐและยุโรป

แบงก์กรุงเทพลุยสู้เปิดสาขาอินโดฯ

   แต่รูปแบบการทำธุรกิจต่างประเทศของธนาคารกรุงเทพ จะเน้นการเปิดสาขาและธนาคารท้องถิ่น มากกว่าการไล่ซื้อกิจการธนาคารในท้องถิ่น โดยยังคงยึดที่ลูกค้าเป็นหัวใจหลักในทุก ๆ ก้าวที่ย่างออกไปนอกประเทศต้องมีฐานธุรกิจจากลูกค้าเดิมเป็นตัวรองรับอย่างน้อย 70% ซึ่งฐานลูกค้าที่สร้างสมมาอย่างยาวนาน แข็งแกร่งเพียงพอที่จะชี้นำทิศทางธุรกิจของธนาคารได้ ซึ่งการเน้นธุรกรรมสำหรับลูกค้าธุรกิจทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องมีสาขามากเหมือนการทำธุรกิจรายย่อย และเน้นการใช้ประสิทธิภาพของสาขาที่มีอยู่อย่างเต็มที่

กสิกรสร้างโครงข่ายพันธมิตร

       การสร้างโครงข่ายพันธมิตรของธนาคาร ยังคยึดหลักการเดินตามลูกค้าออกไปเช่นกัน ซึ่งจะสามารถบริการทั้งลูกค้าของไทยที่ต้องการไปลงทุนในประเทศเหล่านั้น หรือรองรับความต้องการของลูกค้าในภูมิภาค ที่จะเข้ามาในประเทศไทย

         ปัจจุบันธนาคารมีความร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรแล้ว 32 แห่งใน 7 ประเทศ ได้แก่ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร ลาว และมาเลเซียและในอนาคตจะขยายต่อไปถึงบรูไน ส่วนเรื่องการเปิดสาขาในต่างประเทศนั้นยังเป็นเฟสต่อไปที่ธนาคารจะพิจารณาตามปริมาณธุรกรรมที่จะลึกซึ้งมากขึ้นในอนาคต

       นอกจากนี้พัฒนาการของธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทย ในการรับมือกับอาเซียนยังขยายวงกว้างออกไปโดยในปี 2555 ทั้ง 2 ธนาคารยังชูประเด็นเออีซีเป็นวาระสำคัญ ในการผลักดันลูกค้าออกไปเปิดหูเปิดตาในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย โดยเฉพาะลูกค้าเอสเอ็มอี ที่จะต้องออกไปเพื่อแสวงหาทรัพยากรและต้นทุนที่ถูกลง เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในโลกอนาคต

http://www.npc-se.co.th/read/m_read_detail.asp?read_id=1150&cate_id=3


วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ซีพีทุ่ม4หมื่นล้าน ลุยลั่วหยาง ธ.กรุงเทพชี้ธุรกรรมในจีนฉลุย



เซี่ยงไฮ้ * ซีพีมั่นใจเศรษฐกิจจีนยังแกร่ง แม้รัฐบาลกดจีดีพี ล่าสุดควักเงินเกือบ 40,000 ล้านบาท ผุดเมกะโปรเจ็กต์ที่ลั่วหยาง พร้อมลุยเข็นรถยนต์เอ็มจีขายในไทย ขณะที่ธนาคารกรุงเทพในจีนลุ้นสินเชื่อโต 10%



นายธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า ในขณะนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจในสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้หลายฝ่ายมองว่ามีการชะลอตัวเหลือประมาณ 7% จากเดิมที่โตเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งการลดลงนั้นเกิดมาจากนโยบายของรัฐบาลเอง แต่อย่างไรก็ตาม จีนยังมีหัวเมืองชั้นรองที่ยังสามารถพัฒนาเศรษฐกิจอีกมาก อาทิ เมืองในโซนภาคกลางและภาคตะวันตก
อย่างไรก็ตาม ซีพียังถือว่าจีนเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจในอนาคต เนื่องจากรัฐบาลจีนสร้างระบบสาธารณูปโภครองรับการเติบโตแล้ว ทั้งถนนซูเปอร์ไฮเวย์ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเมืองใหญ่ ท่าเรือ และสนามบิน ล่าสุดซีพีกำลังจะลงทุนโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ในเมืองลั่วหยาง วงเงิน 35,000- 40,000 ล้านบาท โดยจะเป็นการก่อสร้างศูนย์กลางค้า ซูเปอร์แบรนด์มอลล์ อาคารสำนักงานให้เช่า คอนโด มิเนียม และศูนย์ราชการ บนพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันก็ยังคงรุกธุรกิจการเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานเดิมของซีพีต่อไป เพราะเชื่อว่าธุรกิจดังกล่าวจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในจีนได้อีก 5-10 ปี

              ด้านนายนพดล เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรม (จีน) เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลจีนสนับสนุนให้นักธุรกิจจีนเข้าไปลงทุนในต่างประ เทศมากขึ้น ซึ่งซีพีได้ร่วมลงทุนกับบริษัท เซี่ยงไฮ้ ออโตโมทีฟ (SAIC Automotive In Co.LTD) ผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ "เอ็มจี" ของอังกฤษ ก่อตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ในประเทศไทย วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท โดยในเฟสแรกจะผลิตประมาณ 50,000 คันต่อปี เพื่อขายในประเทศไทย ช่วงต้นปี 2557 รวม 3 รุ่นคือ MG6 MG5 และ MG 3 และจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 200,000 คัน เพื่อเป็นฐานการส่งออกรถยนต์เอ็มจีไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

             


        ด้านนายสุวัชชัย ทรงวานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงเทพ (จีน) เปิดเผยว่า ในปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจีน (จีดีพี) มีอัตราการเติบโต 7.6-7.8% ซึ่งสูงกว่าที่รัฐบาลจีนคาดการณ์ไว้ที่ 7.5% เนื่องจากในประเทศยังมีกำลังซื้อ อย่างไรก็ตาม ธนา คารได้รับกลยุทธ์การบริหารงานให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจของจีน โดยปีนี้คาดว่าสินเชื่อของธนาคารจะมีอัตราการเติบโต 8-10% หรือมีพอร์ตสินเชื่อประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และอัตรากำไรประมาณ 140 ล้านหยวน ซึ่งมีระดับใกล้เคียงกับปีที่แล้ว
สำหรับการทำธุรกิจในจีนมีการแข่งขันสูง โดยธนาคารต่างประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจในจีนมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1.7% ของส่วนแบ่งตลาดธนาคารจีนทั้งหมด ประมาณ 10 ล้านล้านหยวน อีกทั้งธนาคารกลางของจีนมีนโยบายกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้มีข้อจำกัดการระดมทุนในจีน แต่ธนาคารกรุงเทพ (จีน) จดทะเบียนในท้องถิ่นทำให้ทำธุรกรรมเงินหยวนได้

"ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีนักลงทุนจีนสนใจเข้าไปลงทุนในไทยมากขึ้น โดยขณะนี้มีกลุ่มนักลงทุนจีนขนาดใหญ่ๆ ที่เป็นลูกค้าธนาคารเข้าไปลงทุนในไทยแล้วประมาณ 20-30 ราย" นายสุวัชชัยกล่าว.


ข่าววันที่ 18 กันยายน 2556